Internet

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6 อินเทอร์เน็ต

         อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ระบบต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันมีลักษณะเป็นเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง
          อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1907 ไดมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย
          สำหรับประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อติดต่อสื่อสารทางอีเมลล์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย มีการติดตั้งระบบอีเมลล์ขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์  กระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลล์ฉบับแรกระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
         ใน พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศเพื่อการศึกษาและวิจัย
ใน พ.ศ. 2538 ได้มีบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นบริษัทแรก

ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
          ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
          การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เทเลคอมเอเชีย  และดาต้าเน็ต โดยวงจรของทุกรายจะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อลดความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
          ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ การให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายยังไม่อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลของประเทศโดยปราศจากการควบคุมของ กสท.

การทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
           การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

โดเมนเนม (Domain name system: DNS)
           เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP Address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการจำ แนวทางแก้คือ การตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP Address ซึ่งสะดวกในการจำ

การขอจดทะเบียนโดเมน 
          การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจดทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม
การขอจดทะเบียนโดเมน   มี 2 วิธี คือ
1. การขอจดทะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (com. / edu. / Int. /org. /net.) ต้องขอจดทะเบียนกับ  www.networksolution.com ซึ่งเดิมคือ www.internic.net
2. การขอจดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand) ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net โดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย .th ประกอบด้วย
.ac.th   ย่อมาจาก  Academic Thailand      สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th   ย่อมาจาก  Company Thailand       สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th   ย่อมาจาก  Government Thailand   สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th  ย่อมาจาก  Network Thailand         สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th    ย่อมาจาก  Organization Thailand  สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.in.th    ย่อมาจาก  Individual Thailand       สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป      

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย Wire Internet
       1. การเชื่อมอินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Inddividual Connection) คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน ผู้ใช้จะต้องเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้ดมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
                องค์ประกอบของของหารใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม
         โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก
                โมเด็ม สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต
2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้ากับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ จะมีราคาถูกกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก อาจเรียกสั้นๆ ว่า PCMCIA modem

2. การเชื่อมอินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น LAN เป็นของตัวเอง ซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อเหมือนผู้ใช้รายบุคคลต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย Wireless  Internet
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์พกพา
2.การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง
- WAP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WMLในการพัฒนาขึ้นมาแทนภาษา HTML
- GPRS เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงในรูปแบบของมัลติมิเดีย ประหยัดกว่าการใช้ WAP และสื่อสารได้เร็วขึ้นด้วย
3.โทรศัพท์ระบบ CDMA สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี
4. เทคนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการส่งคลื่นวิทยุ

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊กและเครื่องปาล์มผ่านโทรศัพท์มือถือ
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊กและเครื่องปาล์มผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS จะทำน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊กหรือปาล์ม ปัจจุบันได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด
               
     องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์  ISDN
1. Network Terminal  (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ
2.  Terminal Adapter  (TA)  เป็นอุปกรณ์ แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม
3.  ISDN card  เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NT
4.  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN

2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี
องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิลมาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเซียล
2. ตัวแยกสัญญาณ ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4.  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบันมีเพียงบริษัทเดียวคือ
      บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย
3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบสายโทรศัพท์แบบเดิม
                องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
                1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
                2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
                3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL
4. ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปจะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
                องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
                1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
                2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
                3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ
                4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ปัจจุบันมีเพียงรายเดียวคือ CS Internet ในเครือคอร์ปอเรชั่น

บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บบราว์เซอร์  ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลล์สามารถทำได้สะดวก ต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน คือ E-mail address
                องค์ประกอบของ E-mail address ประกอบด้วย
                1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
                2. ชื่อโดเมน User name@domain_name
การใช้งานอีเมลล์ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. Corporate E-mail คือ อีเมลล์ที่หน่วยงานต่างๆ สร้างขึ้นให้กับพนักงานในองค์กรนั้น
2. Free E-mail คืออีเมลล์ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ
3. บริการโอนย้ายไฟล์ เป็นบรการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์แบ่งออกเป็น
- การดาวน์โหลดไฟล์ คือการรับข้อมูลเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
- การอัพโหลดไฟล์ คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต
4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต คือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด สามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย
5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
                - Web Directory  คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อย
                - Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search
                - Metasearch  คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search Engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการค้นหาไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ
6. บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ
7. ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่งที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน